อยู่ให้ดีกับเด็กยุค ICT in the special class.

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "อยู่ให้ดีกับเด็กยุค ICT in the special class"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

1 .เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อตนเองและผู้อื่น
2. เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถออกแบบวางแผนทำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่สร้างคุณค่าต่อส่วนรวมได้

week8


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบต่างๆ และสามารถเผยแพร่ผลงานผ่าน Social Network ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
2-6
มี.ค.
58
โจทย์ : เผยแพร่ผลงานผ่าน Social Network
Key Questions :
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการนำเสนอผลงานเผยแพร่ผ่าน Social Network
- Social Network ที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
Round Robin: ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับ Social Network  ในปัจจุบัน
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- ข่าวภัยของ Social Network
- อินเตอร์เน็ต
- คอมพิวเตอร์
- Social Network เช่น face book, you tube, blockger เป็นต้น

วันจันทร์( 2 ชั่วโมง)
ชง :
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
Ø เมื่อหน่วยความจำในไอแพดเต็มนักเรียนจะทำอย่างไร
Ø นักเรียนจะทำอย่างไรให้สามารถนำเสนอหรืออ่านข้อมูลที่เรามีโดยที่ไม่ใช้อุปกรณ์เดิม(ไอแพดหรือคอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้บันทึกข้อมูล)
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากคำถามในขั้นชง
ใช้ :
นักเรียนศึกษาการถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบต่างๆพร้อมทั้งสรุปความเข้าในเป็นชาร์ตความรู้

วันอังคาร( 3 ชั่วโมง)
ชง :
- นักเรียนอ่านข่าวภัยของ Social Network
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
Ø จากการอ่านข่าวนักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร ถ้าอยู่ในเหตุการณ์จะทำอย่างไร
Ø Social Network ที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถามในขั้นชง
ใช้ :
นักเรียนทำชาร์ตความรู้Social Network ที่นักเรียนรู้จัก

วันพุธ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
 ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับ Social Network  ในปัจจุบันผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละคู่เลือกช่องทางในการเผยแพร่ผลงานให้คนอื่นสนใจ และศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางที่เลือก
ใช้ :
 สรุปเกี่ยวกับ Social Network ผ่านนิทาน

วันศุกร์( 2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนสะท้อนในสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.       นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.       ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
3.       นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.       นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.       นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.       นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป

เชื่อม :
นักเรียนแต่ละคู่เผยแพร่ผลงานตามช่องทางที่เลือกครูกระตุ้นคิดด้วยคำถามต่อว่า
Ø นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการนำเสนองานผ่าน
Social Network 
ใช้ :
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ
( Mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- อภิปรายร่วมกันในเรื่องของการถ่ายโอนข้อมูล
- อ่านข่าวภัยของ Social Network
- พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับ Social Network  ในปัจจุบัน

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความการถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบต่างๆรู้
- ชาร์ตความรู้Social Network  ที่นักเรียนรู้จัก
- สรุปเกี่ยวกับ Social Network ผ่านนิทาน
- ผลงานที่เผยแพร่ใน Social Network 
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบต่างๆ และสามารถเผยแพร่ผลงานผ่าน Social Network ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
- รู้จักรักษาและเห็นคุณค่าของอุปกรณ์ที่เป็นของส่วนรวม

ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารกับผู้อื่นผ่าน Social Network ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
 - คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนได้
- คิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Social Network ได้

ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น






1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่แล้วพี่ๆได้เรียนรู้การถ่ายโอนข้อมูล ในสัปดาห์นี้พี่จะได้เรียนรู้เรื่องการเผยแผ่ผลงานผ่าน Social network โดยพี่จะต้องทำการอัปโหลด vdoของตนเองลงใน Social network พี่ๆทุกคนตั้งใจและมีความพยายามอย่างมากในอัปโหลด vdo แต่ปัญหาที่พบคือ vdo มีขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถอัปโหลดได้ คุณครูและพี่ๆจึงอภิปรายร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไข พี่ๆเสนอว่าให้ตัดให้สั้นลง บางคนบอกว่าลดความละเอียดของ vdo หลังจากที่อภิปรายร่วมกันทุกคนลองแก้ปัญหาตามที่เพื่อนเสนอแนะมีทั้งตัดต่อใหม่และลดความละเอียดของ vdo ต่างคนต่างใช่วิธีการที่ตนเองถนัดและพี่ๆก็สามารถอัปโหลดได้สำเร็จจากนั้นทุกคนทำสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์

    ตอบลบ